สาระจากเมืองมังกร

 

สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 76 โจรโพกผ้าเหลือง โดย อาจารย์แอน
13 มี.ค. 2557

 

 

สรุปบทความจากรายการ

"สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 76 โจรโพกผ้าเหลือง"

(ออกอากาศทาง TNN2Truevision ช่อง 8 ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 20.20 - 20.30 น.)

 

 

 สามก๊ก, ขงเบ้ง, เล่าปี่, กวนอู, เตียวหุย, โจโฉ, ซุนกวน, โจรโพกผ้าเหลือง

             จุดกำเนิดแท้จริงที่ทำให้แผ่นดินจีนลุกเป็นไฟ และยืดยาวมาแก้ปัญหาได้ยากที่สุด คือ เรื่องของโจรโพกผ้าเหลือง

 

สามก๊ก, ขงเบ้ง, เล่าปี่, กวนอู, เตียวหุย, โจโฉ, ซุนกวน, โจรโพกผ้าเหลืองโจรโพกผ้าเหลืองเกิดจากพี่น้องสามคน คือ เตียวก๊ก เตียวโป้ว เตียวเหลียง คนพี่อ้างว่า ได้รับตำรามาจากเซียน ฟังว่าในตำนานการรบสงครามซางโจ้ว เป็นการรวมของเทพเต๋า เทพเซียนเต๋าทั้งหมดถือว่าเป็นการกำเนิดเทพเซียนก็ว่าได้ และต่อมาก็ยกย่องให้เล่าจื๊อเป็นประมุขของเซียน และก็มีการเขียนตำรามาจนตลอดรัชสมัยของราชวงศ์ฮั่นเลยทีเดียว ในสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นนั้น เมื่อเกิดความวุ่นวายจะหาใครช่วย ก็ต้องเป็นเทวดาเป็นเซียน จึงเป็นช่องว่างที่ทำให้สามพี่น้องอ้างกับประชาชนว่า เขาได้ตำราซึ่งกล่าวพยากรณ์ว่า ช่วงนี้ยากลำบากแต่ในปีชวดจะเกิดสงบสันติ ผู้มีบุญจะถูกส่งมาช่วย เป็นการเลียนแบบสงครามซางโจ้ว เพราะตอนนั้น ในประวัติเทพเซียนในลัทธิเต๋าบันทึกว่าเจ้าแม่หนี่วาส่งเทพลงมาเกิดเพื่อล้มล้างราชวงศ์ซาง

 

สามคนพี่น้องก็เลยตั้งตัวเองเป็นหัวหน้า แล้วรวบรวมผู้คน รวบรวมชาวนา เหล่าคนที่ยากลำบากและถูกรังแกจากข้าราชการหรือจากขุนนางในราชสำนัก ทำให้รวมได้ถึงแปดหัวเมืองเลยทีเดียว แล้วไล่ตีไปตลอดเรียกว่าเกิดสงคราม ยุคต่อมาถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้เราเรียกว่ากบฏของชาวนา แต่เนื่องจากมีผู้ร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก จึงมีกองกำลังที่เข้มแข็งและมีอำนาจมาก จึงมีการแต่งตั้งเป็นกองทัพ มีตำแหน่งแม่ทัพนายกอง ตามลำดับ ในที่สุด เมื่อได้ครบแปดหัวเมือง ซึ่งใกล้เคียงกับคำว่าแปดร้อยหัวเมืองในสมัยของการล้มล้างราชวงศ์ซาง ก็ตั้งตัวเป็นอ๋อง โดยตั้งกันตามตำราของลัทธิเต๋า ที่เกี่ยวพันกับฟ้าดิน คือ เจ้าพระยาสวรรค์ เจ้าพระยาดิน เจ้าพระยามนุษย์ เรียงกันตามลำดับก็คือ ที ตี่ นั้ง นั่นเอง มีความหมายทางลัทธิเต๋า ก็คือครอบคลุมหรือควบคุมทั้งสามโลก โดยเจ้าพระยาสวรรค์ก็คือคนพี่ น้องคนรองเป็นเจ้าพระยาดิน และน้องคนเล็กเป็นพระยามนุษย์ แบ่งหน้าที่กันไป

 

มีการติดสินบนหนึ่งในสิบขันทีคือ อองสี จึงรู้ความเป็นไปในราชสำนักทุกอย่าง และประกอบกับทหารก็ไม่ได้ลงมือปราบจริงจัง รวมไปถึงข่าวคราวต่างๆ ก็ไปไม่ถึงพระเนตรพระกรรณ เรื่องของโจรโพกผ้าเหลืองจึงเป็นความวิตกกังวลของขุนนางตงฉินฝ่ายเดียว แต่กลุ่มของขุนนางกังฉินคือกลุ่มของขันทีทั้งสิบมีมากกว่า ตราบใดที่ยังได้ผลประโยชน์อยู่ ก็ยังไม่ได้คิดปราบปรามให้ราบคาบ ทำให้กลุ่มของโจรโพกผ้าเหลืองลุกลามไปทั่วแผ่นดิน และเมื่อถือว่าแผ่นดินเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ จึงโพกผ้าสีเหลืองซึ่งเป็นสีที่หมายถึงธาตุดิน และนำมาเป็นสัญลักษณ์บอกให้รู้ว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน แต่ในราชสำนักเรียกเป็นโจร ก็เลยเป็นที่มาของคำว่าโจรโพกผ้าเหลือง

 

 สามก๊ก, ขงเบ้ง, เล่าปี่, กวนอู, เตียวหุย, โจโฉ, ซุนกวน, โจรโพกผ้าเหลือง