สาระจากเมืองมังกร

 

สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 91 ความแตกต่างสามก๊ก 2 ฉบับ โดย อาจารย์แอน
18 มี.ค. 2557

 

สรุปบทความจากรายการ

"สาระจากเมืองมังกร ตอนที่ 91ความแตกต่างสามก๊ก 2ฉบับ"

(ออกอากาศทาง TNN2 Truevision ช่อง 8ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 20.20 - 20.30น.)

 

 สามก๊ก, ขงเบ้ง, เล่าปี่, กวนอู, เตียวหุย, โจโฉ, ซุนกวน

                เรามาทำความรู้จักกับผู้แต่งของสามก๊กสักเล็กน้อย สามก๊กมีผู้แต่งขึ้นมาเป็นเอกสารสองฉบับด้วยกัน สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) ได้แปลจาก "หลอกว้านจง" สามก๊ก, ขงเบ้ง, เล่าปี่, กวนอู, เตียวหุย, โจโฉ, ซุนกวนหลอกว้านจง (羅貫中) เป็นทหารกองพลาธิการในกองทัพของจูเหวียนจาง สังกัด จางซื่อเฉิน เขาได้เห็นการรบอย่างมากมาย ได้เห็นยุทธวิธีต่างๆ จึงเขียนรวบรวมเรื่องราวต่างๆในสมัยสามก๊กขึ้นมา แต่ช่วงเวลาที่เขาเขียนสามก๊กนั้นเกือบ 1,000ปีให้หลัง เพราะฉะนั้น จะมีเรื่องจริงๆ 70เปอร์เซ็นต์และอีก 30เปอร์เซ็นต์เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นเป็นสีสันในวรรณกรรม กล่าวกันว่าเตียวเสี้ยนไม่ได้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เพราะในการบันทึกหรือจดหมายเหตุของซานกว๊อจื้อซึ่ง  "เฉินโซ่ว"  เป็นผู้เขียน ถือว่าเป็นนักเขียนร่วมสมัยก็ว่าได้ เพราะเฉินโซ่เป็นบุตรของนายทหารซึ่งถูกประหารพร้อมกับม้าเจ็ก ถือว่าเป็นลูกหลานของม้าเจ็กด้วย และหนีภัยจากขงเบ้งไปอยู่แคว้นจิ้น คำว่าแคว้นจิ้นตอนนั้นก็คือหลังจากที่สุมาอี้ตายไปแล้ว ลูกหลานของสุมาอี้ คือสุมาสู สุมาเจียว สุมาเอี้ยน ก็ได้ชิงอำนาจจากตระกูลโจอีกทีหนึ่ง เรื่องราวก็ซับซ้อน เสมือนเคยเห็นการแก่งแย่งชิงอำนาจ ก็มีการแก่งแย่งชิงอำนาจกันต่อไป ดังนั้น เฉินโซ่วผู้นี้ จึงมีชีวิตอยู่ในสมัยของสุมาเอี้ยน ด้วยเหตุที่รับราชการในสมัยนั้น การเขียนประวัติศาสตร์จึงจริงแท้แน่นอนกว่าหลอกว้านจง แต่ฝ่ายหนึ่งคือหลอกว้านจงเขียนในขณะที่อยู่ในกองทัพที่สมัยนั้นเรียกว่า กบฏชาวนา จึงเขียนเรื่องราวของเล่าปี่เป็นหลัก โดยให้ขงเบ้งและเล่าปี่เป็นตัวเอก เพราะเปรียบเทียบกองทัพของจูเหวียนจาง ถือว่าไม่ได้ตำหนิกองทัพของตนเอง และถือว่าฝ่ายของรัฐบาลหรือฝ่ายของผู้ครองอำนาจในสมัยนั้นใช้อำนาจไม่ถูกต้อง ทั้งเเก่งแย่งชิงอำนาจกันเอง มีการคอรัปชั่นทำให้ประชาชนอดอยาก ถือว่าเป็นกบฏชาวนานั้นถูกต้อง

 

ในขณะที่เฉินโซ่ว (三國志) เขียนขึ้นมาในสมัยสุมาเอี้ยน ไม่ชอบการปกครอง ไม่ชอบการบริหารงานของขงเบ้ง จึงเขียนไปในทำนองที่ว่ากองทัพของโจโฉเป็นกองทัพที่ชอบธรรม หรือกองทัพของสุมาเอี้ยนเป็นกองทัพที่ถูกต้อง เป็นการเขียนที่มีทัศนะแตกต่างกัน แต่ถ้าเราได้อ่านทั้งสองฉบับที่แปลมา เราก็จะเข้าใจในมุมมองของทุกฝ่าย ความจริงแล้วคงไม่ใครผิดหรือใครถูก แผ่นดินแบ่งออกเป็นสามก๊กเพราะต่างก็มีความคิดเห็นเป็นของตนเอง ทางฝ่ายเล่าปี่เป็นเชื้อพระวงศ์ เห็นความไม่ชอบธรรมในการปกครอง เห็นบรรดาอาณาประชาราษฎร์ได้รับความเดือดร้อน ส่วนซุนกวนนั้น ถือดีว่าต้นตระกูลของตนนั้นได้ตราแผ่นดินมา ฟ้าสั่งให้มาเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ในขณะที่ฝ่ายโจโฉนั้นถือรับสั่งโองการของฮ่องเต้เป็นหลัก ถือว่าเป็นรัฐบาลที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นความคิดเห็นทางด้านการเมืองต่างกันก็สามารถทำให้เกิดการแตกแยกได้ แต่มุมมองนั้นก็แล้วแต่ผู้เขียนจะเขียน สามก๊กฉบับจดหมายเหตุนั้น มีความเป็นจริงเยอะแต่ว่ารายละเอียดไม่ค่อยมี ดังนั้น สามก๊กในปัจจุบันที่เราได้อ่านกันจึงมีทั้งสองฉบับผสมผสานกัน ถือว่ามีความจริงผสมผสานอยู่ถึง 70-80เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

 

 สามก๊ก, ขงเบ้ง, เล่าปี่, กวนอู, เตียวหุย, โจโฉ, ซุนกวน

 

สาหรับที่บอกว่าอ่านสามก๊กสามครั้งแล้วคบไม่ได้ อาจจะเป็นเพราะเป็นเรื่องราวของอุบาย การทรยศ ความซับซ้อนของจิตใจคน แต่ถ้าเราอ่านเอาคุณธรรม เอาสิ่งที่ปกครอง การบริหารงานบุคคล ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่อบุคคล อย่างนี้อ่านกี่รอบก็ได้ประโยชน์

 

 สามก๊ก, ขงเบ้ง, เล่าปี่, กวนอู, เตียวหุย, โจโฉ, ซุนกวน